คอมพิวเตอร์
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
• เคส (Case)
เคสหรือตัวถัง เป็นส่วนประกอบที่เป็นกล่องที่ห่อหุ้มอุปกรณ์ภายในคอมพิวเตอร์ไว้ทั้งหมดส่วนมากคนทั่วไปมักจะเรียกว่าซีพียูเนื่องจากเข้าใจผิดภายในเคสก็จะมีพื้นที่สำหรับติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ ได้แก่ เมนบอร์ด ฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอม ฟล็อปปี้ดิสก์ การ์ดต่างๆแรม ปัจจุบันนิยมเคสรูปทรงแนวตั้งเพื่อประโยชน์ในการติดตั้งดุปกรณ์ได้โดยง่าย ทั้งยังประหยัดเนื้อที่การทำงานอีกด้วย
• เพาเวอร์ซัพพลาย (Power Supply)
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทุกอุปกรณ์จะไม่สามารถทำงานได้หากไม่มีกระแสไฟฟ้ายกเว้นจะมีแบตเตอรี่สำรองไฟ เช่น แบตเตอรี่ในเครื่องโน้ตบุ๊ก เป็นต้น เพาเวอร์ซัพพลายจะทำหน้าที่ในการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้
• ชุดพัดลมและฮีตซิงก์ระบายความร้อน ( Heat sink, Fan)
ชุดพัดลมและฮีตซิงก์ระบายความร้อน จะใช้ติดตั้งบนตัวซีพียู เพื่อช่วยระบายความร้อนจากซีพียูคอมพิวเตอร์รุ้นใหม่ส่วนมากจะติดตั้งฮีตวิงก์มาพร้อมซีพียู หรือจะซื้อแยกต่างหากก็ได้ การเลือกซื้อควรดูซีพียูที่ใช้ว่าเป็นรุ่นไหน ความเร็วเท่าไหร่ เพื่อที่จะเลือกพัดลมให้เหมาะสมโดยพัดลมจะมีความเร็วในการหมุน หากมีความเร็วรอบสูงๆ จะช่วยให้การระบายความร้อนทำได้ดี แต่ทำให้เกิดเสียงดังรบกวนขณะเครื่องทำงานได้
• หน่วยประมวลผลกลาง (Microprocessor/CPU (Central Processing Unit)
ไมโครโฟรเซสเซอร์ส่วนมากจะเรียกว่าซีพียูเป็นส่วนที่เป็นหัวใจของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซีพียูที่นิยมใช้มีหลายยี่ห้อด้วยกัน เช่น AMD, Intel, PowerPC, Spare, Cyril ซีพียูจะทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการประมวลผล
• RAM (Random Access Memory)
หน่วยความจำแรม หน่วยความจำชนิดนี้จะบันทึกและอ่านข้อมูลด้วยกระแสไฟฟ้าและต้องมีกระแสไฟจ่ายให้ตลอดเวลา ถ้าปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ข้อมูลที่อยู่ในแรมก็จะหายไปด้วยแรมจะถูกนำมาใช้ในการรับส่งข้อมูลระหว่างซีพียูกับฮาร์ดดิสก์ หรืออุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลชนิดอื่น
• ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk)
ฮาร์ดดิสก์เป็นอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล โดยใช้แถบแม่เหล็กสำหรับจัดเก็บข้อมูล ตั้งแต่โปรแกรมระบบปฏิบัติการ โปรแกรมประยุกต์ ตลอดจนข้อมูลที่ได้จากการประมวลผล การบันทึกข้อมูลอื่นๆฮาร์ดดิสก์แต่ละตัวบรรจุข้อมูลได้มากน้อยขึ้นอยู่กับขนาดความจุของฮาร์ดดิสก์
• ดิสก์ไดรฟ์ (Disk Drive)
ดิสก์ไดรฟ์เป็นอุปกรณ์สำหรับอ่านและบันทึกข้อมูลจากแผ่นดิสเกตต์(Diskette) ดิสก์ไดรฟ์ปัจจุบันมีขนาด 3.5 นิ้ว สำหรับอ่านข้อมูลจากแผ่นดิสเกตต์ขนาด 3.5 นิ้ว ด้านท้ายของไดรฟ์จะมีคอนเน็คเตอร์สำหรับต่อสายไฟจากเพาเวอร์ซัพพลายเข้าที่ดิสก์ไดรฟ์ และคอนเน็คเตอร์สำหรับต่อสายแพ (สายรับส่งข้อมูล) เข้ากับคอนเน็คเตอร์ FDD Connector
• การ์ดแสดงผล (Display Card)
การ์ดแสดงผลหรือการ์ดจอ หรือเรียกอีกอย่างก็คือ VGA Card (Video Graphic Array)ถ้าเป็นการ์ดรุ่นใหม่ๆ ที่ใช้สำหรับเล่นเกมส์ก็จะเรียกว่า 3D Card ซึ่งเป็นการ์ดที่ช่วยให้การแสดงรูปภาพที่เป็นภาพสามมิติทำได้เร็วขึ้น การ์ดแสดงผลจะส่งสัญญาณภาพไปแสดงที่จอภาพ การ์ดบางรุ่นจะแสดงผลได้สองจอภาพพร้อมกันเรียกว่า Dual Head เนื่องจากมีพอร์ตสำหรับต่อสายจากจอภาพทั้งสองจอ และการ์ดบางรุ่นจะมีช่องส่งสัญญาณภาพออกไปที่โทรทัศน์ได้ด้วย เรีอกว่าTV-Out
• การ์ดเสียง (Sound Card)
การ์ดเสียงเป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์แสดงผลในรูปแบบเสียงได้ต้องมีลำโพงเป็นสื่อในการแสดงผล รูปแบบแสดงผลได้แก่ เพลง หนังเกมส์คอมพิวเตอร์ บันทึกเสียงเข้าไปในคอมพิวเตอร์ได้ เมนบอร์ดส่วนใหญ่จะเป็นชนิด Onboard ซึ่งได้ติดตั้งการ์ดเสียงไว้บนเมนบอร์ด (Sound on Board) ถ้าต้องการคุณภาพเสียงที่ดีกว่าควรติดตั้งการ์ดเสียง สำหรับการ์ดเสียงที่ได้รับความนิยมก็เช่น Creative SoundBlaster Live, Audigy เป็นต้น
• แป้นพิมพ์ (Keyboard)
แป้นพิมพ์เป็นอุปกรณ์นำเข้า สำหรับให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ป้อนข้อมูล คำสั่ง ให้แก่เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อบันทึกหรือประมวลผล แป้นพิมพ์ต้องต่อสายเข้ากับพอร์ต PS/2 ของเมนบอร์ดปัจจุบันมีคีย์บอร์ดต่อเข้ากับพอร์ต USB ของเมนบอร์ดและยังมีคีย์บอร์ดแบบไร้สาย
• เมาส์ (Mouse)
เป็นอุปกรณ์ที่มีหน้าที่ชี้ และเลีอกโปรแกรม ข้อมูล คำสั่งที่ต้องการได้เร็วกว่าการใช้แป้นพิมพ์ ในงานทางด้านกราฟิกจะเป็นตัวช่วยในการวาดภาพ การเล่นเกมส์ เมาส์มีจำหน่ายหลายแบบ หลายราคา หลายยี่ห้อ ตั้งแต่ราคาไม่ถึงหนึ่งร้อยจนถึงหลักพัน โดยเมาส์จะมีแบบที่เชื่อมต่อกับพอร์ตแบบ PS/2 ซึ่งมีขั้วต่อแบบกลมเล็ก เมาส์พอร์ตแบบ USBที่มีขั้วต่อเป็นทรงสี่เหลียมแบนๆ
• ซีดีรอมไดรฟ์ (CD-ROM)
ซีดีรอมไดรฟ์เป็นอุปกรณ์สำหรับอ่านข้อมุลจากแผ่นซีดีรอม (CD-RW) ซีดีเพลง (Audio CD) โฟโต้ซีดี (Photo CD) วีดีโอซีดี (Video CD) ซึ่งซีดีทั้งสามประเภทจะมีความสามารถในการอ่านข้อมูลจากแผ่นซีดีที่กล่าวมาข้างต้นอยู่แล้ว แต่หากต้องการบันทึกข้อมูลลงแผ่นซีดีได้ให้เลือกใช้ซีดีรอมไดรฟ์แบบ CD-RW และถ้าต้องการอ่านข้อมูลจากแผ่น DVD นอกจากนี้ยังมีไดรฟ์อีกแบบหนึ่งที่เรียกว่า Combo Drive เป็นซีดีรอมไดรฟ์ที่รวมซีดีรอมไดรฟ์ DVD และซีดีรอมไดรฟ์ CD-RW อยู่ในซีดีรอมไดรฟ์เดียวทำให้ทั้งดูหนังฟังเพลง บันทึกข้อมูลลงแผ่นซีดีได้เลยความเร็วของไดรฟ์ซีดีรอมจะเรียกเป็นX เช่น 8X,40X,50Xยิ่งมากก็คือยิ่งเร็ว ส่วน CD-RW นั้นจะมีตัวเลขแสดงเช่นเดียวกัน เพียงแต่จะเพิ่มความเร็วในการบันทึกข้อมูลลงแผ่นซีดี เช่น 24/10/40X นั่นคือความเร็วในการบันทึกแผ่นCD-R สูงสุด ความเร็วในการบันทึกข้อมูลลงแผ่น CD-RW และความเร็วในการอ่านข้อมูลจากแผ่นซีดีโปรแกรม หรือซีดีเพลง
• จอภาพ (Monitor)
จอภาพเป็นอุปกรณ์ที่มีหน้าที่แสดงผลลัพธ์การประมวลผล การทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ด้านหลังจอภาพมีสายไว้ต่อเข้ากับการ์ดจอ จอภาพมีหลายขนาดให้เลีอกใช้งาน เช่น 15,17,19,20,21,24 นิ้ว มีทั้งจอภาพแบบ LCDหรือที่เรียกกันทั่วไปว่าจอแบน
ส่วนประกอบภายในเครื่องคอมพิวเตอร์
• เมนบอร์ด (Main Board)
เมนบอร์ดหรือแผงวงจรหลักที่ใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ การจะให้อุปกรณ์ต่างๆ ทำงานได้นั้นต้องติดตั้งหรือเชื่อมต่อสายเข้ากับเมนบอร์ด แม้แต่ซีพียูก็ต้องติดตั้งเข้ากับเมนบอร์ดถูกผลิกออกมาเพื่อใช้กับซีพียูต่างรุ่นต่างแบบ และยังมีผู้ผลิตหลายรายด้วยกัน เช่น ASUS, ECS, GIGABYTE, CHAINTECH, MSI, ABIT, INTEL เป็นต้น เนื่องจากเมนบอร์ดมีจุดที่จะต้องต่อพ่วงอุปกรณ์ต่างๆ เข้าไป ดังนั้นจึงต้องดูรายละเอียดที่สำคัญๆ บนเมนบอร์ด ดังนี้
• แบตเตอรี่แบ๊คอัพ (CMOS Battery)
แบตเตอรี่แบ๊คอัพเบอร์ CR2032 เป็นแบตเตอรี่ที่จ่ายกระแสไฟกับ CMOS เพื่อเก็บข้อมูลในไบออส เช่น ฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอม วันเวลา ถ้าหาแบตเตอรี่หมดอายุจะทำให้ข้อมูลในไบออสหายไป ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่สามารถ ตรวจสอบได้ว่ามีฮาร์ดดิสก์ มีซีดีรอมต่อพ่วงอยู่หรือเปล่า ทำให้คอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานได้ แบตเตอรี่จะมีอายุการใช้งานประมาณสองหรือสามปี หากต้องการเปลี่ยนก็หาซื้อได้ตามร้านนาฬิกาหรือร้านถ่ยรูป
• BIOS (Basic Input Output)
เป็น CHIP IC ชนิดหนึ่งที่อยู่บนเมนบอร์ด ภายในจะมีโปรแกรมที่ใช้ตรวจสอบค้นหาอุปกรณ์ประเภทฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอมซีดีไดรฟ์ ที่ติดตั้งเข้าไป ทุกคนที่เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรมที่อยู่ในไบออสจะเริ่มตรวจสอบการทำงานของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เช่น การทำงานของ เมนบอร์ด ฮาร์ดดิสก์ แรม การ์ดจอ คีย์บอร์ด ซึ่งกระบวนการนี้เรียกว่า Power on Self-Test (Post) ในกรณีที่มีอุปกรณ์เสียหรือผิดปกติก็จะรายงานให้ทราบ นอกจากนี้ไบออสยังมีคำสั่งสั่งให้เครื่อคอมพิวเตอร์บูตเข้าสู่วินโดวส์ หรือระบบปฏิบัติการอื่นที่ติดตั้งเอาไว้ด้วย ในรูปเป็นไบออสของ AIM ไบออสมีหลายยี่ห้อด้วยกัน เช่น AWARD, PHOENIX, COMPAQ,IBM ซึ่งจะมีความแตกต่างกันบ้างในเครื่องของวิธีการเข้าไปตั้งค่าการทำงานของไบออสรวมทั้งรูปแบบเมนูของไบออส ส่วนเมนบอร์ดที่ใช้จะมีไบออสยี่ห้อไหน และตำแหน่งติดตั้งอยู่ที่ไหนบนเมนบอร์ดสามารถอ่านเพิ่งเติมได้จากคู่มือของเมนบอร์ด
• CPU Socket
ใช้สำหรับติดตั้งซีพียูเข้ากับเมนบอร์ด เมนบอร์ดที่ใช้กับซีพียูของอินเทลคือ Pentium 4 และ Canceler จะเรียกซอคเก็ตSOCKET 478 ส่วนเมนบอร์ดสำหรับซีพียู AMD นั้นจะมีซ็อคเก็ตแบบ SOCKET 462 หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า SOCKET A จุดสังเกตว่าเมนบอร์ดเป็นซ็อคเก็ตแบบใดนั้นก็ดูจากชื่อที่พิมพ์ไว้บนช็อคเก็ต ส่วนความแตกต่างอีกอย่างหนึ่งก็คือรอยมาร์คที่มุมของซ็อคเก็ต ถ้าเป็นซ็อคเก็ต 478 จะมีรอยมาร์คอยุ่ที่มุมหนึ่งด้าน ส่วนซ็อคเก็ต 462 จะมีรอยมาร์คที่มุมสองด้าน โดยรอยมาร์คจะตรงกับตำแหน่งของซีพียู เพื่อให้ติดตั้งซีพียูเข้ากับซ็อคเก็ตได้อย่างถูกต้อง
• ขั้วต่อสายไฟ ( ATX Power Connector)
ขั้วต่อสายไฟจากเพาเวอร์ซัพพลายเข้ากับเมนบอร์ด ซึ่งเป็นขั้วต่อแบบ ATX โดยที่เพาเวอร์ซัพพลายจะมีสายไฟหนึ่งชุดเอาไว้ต่อเข้ากับเมนบอร์ด และด้านหนึ่งของขั้วต่อจะมีสลักล็อกสายไฟ ป้องกันไม่ให้สายไฟหลุดจากเมนบอร์ดได้ง่าย
• คอนเน็คเตอร์
คอนเน็คเตอร์สำหรับต่อสายแพเข้ากับ Disk Drive ซึ่งเมนบอร์ดจะมีคอนเน็คเตอร์ไว้ให้หนึ่งช่อง ซึ่งก็เพียงพอต่อการใช้งาน เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วยใหญ่จะติดตั้งดิสก์ไดรฟ์เท่านั้น จุดสังเกตก็คือจะมีข้อความว่า FLOPPY หรือเมนบอร์ดบางรุ่นจะเป็ตัวย่อว่า FDD พิมพ์กำกับอยู่ ส่วนที่สำคัญอย่างหนึ่งก็คือที่ช่องคอนเน็คเตอร์จะมี Pin หรือเข็มอยู่ 33 อัน โดยด้านหนึ่งจะมีคำว่า PIN 1 พิมพ์กำกับอยู่ด้วย เมื่อต้องการต่อสายแพเข้ากับคอนเน็เตอร์จะต้องเอาด้านที่มีสีแดงหรือสีน้ำเงินมาไว้ที่ตำแหน่ง PIN 1
• RAM Sockets
เป็นช่องที่ใช้สำหรับติดตั้งแรมเข้าไป เมนบอร์ดแต่ละรุ่นจะมีช่องสำหรับติดตั้งแรมไม่เท่ากัน บางรุ่นอาจจะมีแค่สอง บางรุ่นมีสาม บางรุ่นมีสี่ จำนวนช่องถ้ามีเยอะก็จะทำให้เพิ่มแรมได้มากขึ้น ซ็อคเก็ตที่ใช้ติดตั้งแรมยังแบ่งออกตามชนิดของแรมด้วย ถ้าเป็นเมนบอร์ดที่ใช้แรมแบบ DDR จะมีรอยมาร์คอยู่ตรงกลางหนึ่งช่อง ซึ่งจะตรงกับตำแหน่งรอยมาร์คที่แรม
• USB Port (Universal Serial Bus)
พอร์ตสำหรับต่อพ่วงกับอุปกรณ์ที่มีพอร์ตแบบยูเอสบี เช่น พรินเตอร์ สแกนเนอร์ กล้องดิจิตอล ซีดีรอมไดรฟ์ ซิพไดรฟ์ เป็นต้น เมนบอร์ดรุ่นใหม่จะมีพอร์ตยูเอสบีเพิ่มมาอีกเรียกว่าพอร์ต USB 2.0 ซึ่งรับส่งข้อมูลได้เร็วกว่าเดิม เมื่อต้องซื้ออุปกรณ์ต่อพ่วง ควรตรวจสอบด้วยว่าอุปกรณ์นั้นเชื่อมต่อกับพอร์ตยูเอสบีรุ่นเก่า หรือว่าต้องใช้ร่วมกับพอร์ตยูเอสบี 2.0 เพื่อความมั่นใจว่าอุปกรณ์ที่ซื้อมานั้นจะทำงานได้อย่างไม่มีปัญหาใดๆ
• Parallel Port
พอร์ตพาราลเลล เป็นพอร์ตแบบตัวเมียมีรู 25 รู สำหรับต่อสายพรินเตอร์หรือสแกนเนอร์ที่มีพอร์ตแบบพาราลเลล ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ต่อกับเครื่องพรินเตอร์มากกว่า บางคนจะเรียกว่าพรินเตอร์พอร์ต โดยส่วนใหญ่พอร์ตพาราลเลลจะมีกับเครื่องพรินเตอร์รุ่นเก่า หรือในเครื่องพรินเตอร์ระดับกลางๆ ขึ้นไป
• Serial Port
พอร์ตแบบตัวผู้ที่มีขาสัญญาณอยู่ 9 ขา เรียกว่าคอมพอร์ต (COM Port) เป็นพอร์ตที่ใช้สำหรับต่อโมเด็มเมาส์ หรือจอยสติ๊ก ปัจจุบันอุปกรณ์ที่ใช้พอร์ตนี้แทบไม่มีให้เห็น เนื่องจากหันไปใช้พอร์ตแบบ USB เป็นส่วนใหญ่
• Video Port
พอร์ตสำหรับต่อสายสัญญาณภาพกับจอคอมพิวเตอร์ ลักษณะของพอร์ตจะเป็นพอร์ตแบบตัวเมียมีรู 15 รู สำหรับพอร์ตนี้จะมีอยู่เฉพาะในเมนบอร์ดรุ่นที่รวมเอาการ์ดแสดงผลเข้าไปกับเมนบอร์ดด้วย (VGA On board)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น